วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พบหมอ::เดือนมิถุนายน56_ลดเพรดเหลือ 1 เม็ดวันเว้นวัน

 วันอาทิตย์ ที่ 16 มิถุนายน 2556
      ถึงเวลาไปพบหมอ ห่างหายมาตั้ง ห้าสัปดาห์ คิดถึงคุณหมอจะแย่ ^_^ แต่โดยรวมอ้อมรู้สึกแข็งแรงขึ้น มาก (เหมือนน้ำหนักที่ไม่ลดลงเลย)
     วันนี้ไปแต่เช้าพร้อมผลการตรวจมวลกระดูก และ MRI ไปถึงก็ตามเคยค่ะ
 เจาะเลือด
 เก็บปัสสาวะ

วันนี้นั้งรอไม่นามากเพราะคงคิวไม่นาน หลังจากที่เจาะเลือดไปก็หม่ำข้าวเช้าที่พกไปเอง วันนี้ทานมังสาวิรัสด้วยค่ะเพราะเป็นวันพระ

:: ไปดูผลเลือดกะปัสสาวะกันค่ะ ::
 :::ผลเลือด:::



WBC : การนับจำนวนเม็ดเลือดขาว (ปกติ 5-10  10^3/ul)
   - DEC : 6.3            ===2556===  
   - Jan12 : 2.9          - JAN :  5.2
   - Feb : 3.5               - FEB : 5.4
   - Mar : 3.3               - Mar : 5.2
   - April : 16.0           - APR : 4.9
   - May :  11.6           - May :  7.5
  -  May/2 :  9.2
   - Jun : 9.2                 - Jun : 6.9
   - July : 8.1
   - Aug : 6.7
   - Sep : 11.5
   - Oct :  6.1
   -  Nov : 6.4
    - DEC : 4.9          
     

 HGB : คือการวัดปริมาณ Hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง (ดูว่ามีภาวะโลหิตจางไหม) (ปกติ 12-16 g/dl)
     - DEC : 13.2         ===2556====
     - Jan : 12.2           - JAN : 12.9
    - Feb : 12.4            - FEB : 13.0
    - Mar : 11.8           -  MAR : 12.1
    - April : 12             - APR :  12.5
    - May : 13.2           - May :  13.3
    - May/2 : 14.1
    - Jun : 13.2             - Jun : 12.8
    - July : 12.8
    - Aug : 13.0
    - Sep :   13.3
    - Oct : 12.3
     - Nov : 12.9
     - DEC :  12.9
           
       

 HCT : คือ การวัดเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเม็ดเลือดแดงในปริมาตรเลือดทั้งหมด
 (ส่วนใหญ่จะประมาณ 3 เท่าของค่า HGB) (ปกติ 37-47 %)
          - DEC : 39            ===2556====
          - Jan : 37              - JAN : 39
          - Feb : 38              - FEB : 40
          - Mar : 35              - Mar : 37
          - April : 37            -  APR : 37
          - May : 39             - May : 39
          - May/2 : 41
           - Jun : 39              - Jun : 39
          - July : 38
          - Aug : 40
          - Sep : 40
         - Oct : 37
         - Nov : 38
         - DEC : 38        


Platelet Count (PLT) : คือการนับจำนวนของเกร็ดเลือด ต่อ mL ในเลือด  (เกร็ดเลือดมีความจำเป็นที่ทำให้เลือดแข็งตัว) (ปกติ 150-450  10^3/ul)
          - DEC : 229          ===2556=====
          - Jan : 204             - Jan : 254
           - Feb : 224           - FEB : 247
           - Mar : 215            - Mar : 226
           - April : 325          - APR : 233
           -  May :  309        - May : 245
           -  May/2 :313
          - Jun : 241             - Jun : 297
          - July :  284
         - Aug : 255
         - Sep :  334
        -  Oct : 253
        -  Nov : 266
        - DEC : 237


 :::ผลปัสสาวะ:::

    Protein(PRO)  : Negative
    Blood     : Negative


::ยาที่ต้องทาน::

      เพรดนิโซโลน 1 เม็ด วันเว้นวัน    
      ไฮดรอกซี่คลอโรควิน 5 เม็ดต่อสัปดาห์ ก่อนนอน

คุณหมอบอกว่าทุกอย่างโอเคดีเรื่อยๆ แล้วเดียว อีกเดือนเรามาดูว่าจะลดยาไฮดรอกซี่เหลือวันเว้นวันได้ไหม รอบนี้ลดเพรดไปก่อน(ตามทีเคยแจ้งไปว่า ทาน 2 เม็ดวันเว้นวัน ไปเป็นเวลา 6 เดือน) Okเลยตามการรักษาหมออะไรก็ได้ขอให้ดีขึ้นเรื่อยจนโรคสงบเสียที่คะ

::: ผลการตรวจมวลกระดูก & MRI ::::
     คุณหมอบอกว่า
       :: กระดูกไม่บางและไม่พรุน จากรูปค่า T ของเรา อยู่ในช่วง >-1 นั้นหมายถึงเรากระดูกไม่บางและไม่พรุน(คนปกติจะอยู่ในช่วง -1 ถึง1

       และค่า MRI ช่วงกระดูกสะโพกก็โอเค ดูจากเอกสารที่แจ้งว่า : No Remarkable abnomality
เราเลยรบกวนสอบถามหมอว่าในเอกสารมีรายละเอียดอะไรบ้างคะ....
เจอย่อนหน้าสุดท้ายพูดถึงเรื่องอวัยวะภายในพวก มดลูกเอ่ย รังไข่เอ่ย แอบเห็นว่า
     - Unremarkable 2.3 cm dominant left  Ovarian cyst  >> คือมีถุงซีสในรังไข่ แต่หมอบอกว่าอาจจะเป็นถุงน้ำตามปกติของคนที่จะมีรอบเดือนก็ได้(ปกติก็มีได้)

     - Multiple  nonspecific small sub- centimeter bilateral groin nodes are noted >> มีเหมือนต่อมตรงขาหนีบทั้งสองข้าง แค่ต่อมเล็กๆ
     
        ทั้งนี้ทั้งนั้นหมอบอกว่าไม่ต้องกังวลไป มันเป็นธรรมดาของร่างกาย


     เอาเป็นว่าทุกๆอย่างดีขึ้น ผ่านวิกฤตชีวิตมาแล้ว ตอนนี้คงทำได้เพียงเรียนรู้และดูแลตัวเองไปแบบที่เราเรียนรู้อย่างมีสติคะ  โชคดีโชคร้ายใครจะรู้
    แต่ตอนนี้อ้อมรู้ว่าเรายังมีลมหายใจ และมีโอกาสทำดี และตอบแทนคุณพ่อแม่ ดังนั้นเราต้องดูแลตัวเองดีเพื่อวันเวลาที่ดีที่เรามีอยู่ ^___^ เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ป่วยหรือประสบเรื่องทำให้เหนื่อย(ชีวิต) ให้ยิ้มสู้แม้วันที่เราอ่อนล้า เมื่อเวลาผ่านไปเราจะแข็งแกร่งเมื่อเราก้าวผ่านไปคะ

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จัดฟัน No.59 มิถุนายน 2556

จัดฟัน พบหมอฟัน กันอีกแล้วคราฟ
....ครั้งที่ 59 โดยประมาณ....
รอบนี้พบหมอ ท่ามกลางสายฝน แถมขากลับรถติดมาก(แอบบ่น)
วันนี้ไปพบคุณหมอ ไม่รู้จะทำสีอะไร มองไป มองมา คิดไม่ออก บอกไม่ถูก..แดง..ละกัน (เบอร์ 20)

   แถมวันนี้คุณหมอจัด สปริง ใส่ฟันล่างด้านซ้ายอีก สนุกละคะงานนี้
แถมยางแบบบางให้ใส่อีก...ใส่ห่วงตลอด
 
 
มะไรจะได้เอาเหล็กออกน๊า

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผล...การตรวจมวลกระดูก & MRI สะโพก

 วันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2556 
    ได้ฤกษ์งามยามดี ได้พบคุณหมอ เพื่ออ่านค่าต่างๆว่าเป็นอย่างไร วันที่ได้ผลมาอ่านไม่รู้เรื่องเลย
ได้แต่พยายามแปลๆ แต่มันยากยิ่ง(หากอ่านเข้าใจคงเป็นหมอไปและ) 5555

มาเริ่มทีค่า ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกกันค่ะ



ผลMRIที่สะโพก 


     เมื่อไปพบคุณหมอ คุณหมอเปิด CD ที่เป็นผลการทำ MRI แล้วชี้ให้ดูว่าที่กระดูกข้อสะโพกไม่มีปัญหาอะไรเส้นเลือดสะโพกโอเค
     และค่าแลปทีตรวจความหนาแน่นกระดูก ก็อยู่ในช่วงปกติ (สูงกว่าช่วงเส้นแดง) 

สรุปว่า
ผลการตรวจมวลกระดูก กับ MRI สะโพกแล้วค่ะ
หมอบอกว่ากระดูกไม่บางและยังไม่พรุน
ส่วนสะโพกโอเค เส้นเลือดไม่ตีบ
ให้ยาวิตามินดี(แคลเทรต)มาทานเพิ่่ม (หมอบอกว่าวิตามินดีช่วยดูดซับแคลเซียมได้ดี)ผลดีแบบนี้สบายใจได้ครับ

Photo: ผลกระดูก&MRI ปกติไม่พรุนไม่บาง และเส้นเลือดกระดูกสะโพกแจ่มแจ๋วคะ....ได้วิตามินดีมาทาน(หมอบอกว่าช่วยเรื่องการดูดซับแคลเซียมให้ดียิ่งขึ้น)




วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งแรก...การตรวจมวลกระดูก & MRI สะโพก

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2556
   วันนี้หยุดงาน เตรียมไปท่องเที่ยวโรงบาลอีกแล้วคะ แต่รอบนี้ไปในเรื่องของกระดูก มีภาระกิจดังนี้
           ตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก
           MRI สะโพก
    เนื่องจากมีการทานเพรดนิโซโลน จำนวนเยอะ(ช่วงที่ SLE ลงไต - มีนาคม 2555) เริ่มตั้งแต่ 12 เม็ดเป็นเวลานานและค่อยลดลงมา(ปัจจุบันวันละเม็ด) คุณหมอกระดูกเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน และ ข้อกระดูกสะโพกเสื่อม(เป็นผลข้างเคียงจากการทานเพรดนิโซโลน)
     งานนี้เลยได้จัดตรวจสภาพกระดูกกันอย่างสนุก
ก่อนจะไป....เอาหน้าตาเอกสารมาอวดหน่อย


เอกสาร MRI  @ บ. รัชวิภา เอ็ม อาร์ ไอ เซ็นเตอร์



 เอกสารตรวจมวลกระดูก @ โรงพยาบาลรามา



ตรวจมวลกระดูก 
งั้นเรารีบไปโรงพยาบาลกันดีกว่า รามาหาที่จอดรถยากมาก แถมไม่่รู้จัก สถานทีจะไปเลย
เช้านี้เลยรีบออกจากบ้าน แม้ว่าจะตรวจตอน 13.00
อาคารเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หาไม่ยากค่ะ แต่หาที่จอดรถให้ได้ก่อน 
เมื่อหาที่จอดรถได้ ก็เดินไปตึกข้างหน้าใกล้ทางเข้าเลยค่ะ แล้วถามหาร้านดอกไม้
 (คงมีร้านเดียวทั้งโรงบาล) แล้วก็เดินเลยร้านดอกไม้ไปนิดนึง มองไปทางขวามจะมีลืบเล็กๆ
เข้าไปก็ยื่นเอกสารส่งตัว แล้วก็กรอกรายละเอียดนิดหน่อย พร้อมได้ใบแจ้งหนี้ 
แล้วเดินไปจ่ายเงินด้านนอก (เลี้ยวขวา) ราคา 1,500บาท
นั้งรอซักพัก เค้าเริ่มทำงานกันและ (หลังจากที่ไปพักเที่ยงกันมา) 

เจ้าหน้าที่ก็ให้ชุดไปเปลี่ยน พร้อมทั้งซองจดหมายขนาดใหญ่
(แต่อย่าไปเขียนชื่อหรืออะไรนะ เพราะเดียวต้องให้คืน)




มานั้งรอที่หน้าห้อง 16 เตรียมไปตรวจคะ 
ระหว่างทีรอเจอคุณป้า มาตรวจเหมือนกัน คุณป้ารักสวยรักงามมาก ส่องกระจกตลอดเวลา
ถามเราว่านู๋เป็นอะไรถึงมาตรวจ ยังเป็นสาวเป็นแซ้มาตรวจทำไม
เค้านี้เกษียรแล้ว แต่ล้มมาหมอเลยให้มาตรวจ ไม่รู้ทำไมต้องตรวจ
เราก็อธิบายไปว่า ผญ มีโอกาสกระดูกพรุนสูงกว่า ผช แล้วอายุก็มีผลต่อมวลกระดูกค่ะ
อ้าว...แต่นู๋ยังเด็กทำไมมาตรวจ
ก็นู๋ทานยารักษาโรคประจำตัวนะค่ะ มีผลต่อมวลกระดูกเลยต้องมาตรวจ
คุณป้าทำหน้าสงสัยพร้อมจะ ถามอีก  แต่ดีนะ เค้าประกาศเรียกชื่ออ้อมพอดีเลยได้เข้าห้องตรวจ
แต่ยังไงคุณป้าก็เป็น ผญ ที่อัธยาศัยดี แถมสวย(สมวัย)จริงๆค่ะ ท่านน่ารักมาก

 การตรวจมวลกระดูก - ไม่นานค่ะ แค่ขึ้นไปนอนบนเตียงนิ่งๆ 2 ท่าเอง
ท่าแรก : นอนราบนิ่งๆ
ท่าสอง : นอนตั้งเข่าขึ้นบนกล่อง(ดังรูป)


การตรวจใช้เวลาไม่กี่นาทีเอง (ไม่เกิน10 นาที) ก็เรียบเสร็จแล้วคะ

ปล. รูปด้านบนคนบนเตียงไม่ใช่นู๋อ้อมนะ แต่เป็นคุณป้าทีคุยกันก่อนเข้าห้องตรวจนั้นละ

แล้วเดียวอีก 4-5 วันโทรงมาสอบถุามคะว่าได้ผลหรือยังเพื่อเข้าไปรับผลภายหลังค่ะ ^_^ ขอให้ผลออกมาดีไม่เป็นอะไรค่ะ


 

 พักเบรคซะหน่อ่ย ก่อนไปต่อ MRI ที่  Rachvipa MRI Center


ตรวจ MRI : กระดูกสะโพก
       การตรวจ MRI จุด Hip นี้เพื่อดูกระดูกข้อสะโพก และเส้นเลือดที่เลี้ยงตรงบริเวณกระดูกข้อสะโพก จากที่ได้แจ้งไว้ว่าผลข้างเคียงของการทานเพรดนิโซโลนนั้นทำให้เส้นเลือดตรงกระดูกข้อสะโพกเสื่อมได้ การตรวจ MRI ไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการตรวจดูเพื่อ Protect (หากตีบต้องเปลี่ยนยาในการรักษา SLE) เท่านั้นเองคะ
        ซึ่งปกติแล้วการทานยาเพรดนิโซโลนบางคนไม่มีผลที่กระดูกส่วนนี้ก็มี บางคนกินไม่นานก็เกิดเหตุก็มีโอกาสเป็นได้ 
       การตรวจ MRI นั้นใช้เวลาประมาณ 40 นาที 
       ก่อนตรวจจะมีให้เปลี่ยนเสื้อผ้า  
       และมี เจ้าหน้าที่มาคุยกับเรา อธิบายการตรวจ (ขอบอกว่าเจ้าหน้าทีน่ารักมาก)คะ 
      การตรวจคือให้นอนบนเตียง แล้วรอดเข้าอุโมงค์ไป 
      ก่อนเข้าไปมีอุปกรณ์ใหญ่กดทับเราที่บริเวณสะโพก(อันนี้สำหรับการตรวจข้อสะโพกละคะ)
      แล้วมีการใช้อุปกรณ์อุดหูเพราะเสียงดังเวลาเครื่องทำการตรวจ 
                                      
สามารถนั้งรอผลได้นะคะ แต่ต้องรอ ราว 1-2 ชั่วโมง อ้อมไม่ได้รอเพราะดึกแล้วหิวข้าวคะ 
     รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าไปดูที่เวบได้เลยค่ะ ไม่ค่อยมีรูปเพราะระหว่างการตรวจ และก่อนตรวจเค้าไม่ให้พกมือถือเลย(อดถ่ายรูปมาให้ดูเลย)
website : www.rachvipamri.com 
               www.mammogramthia.com
Map : 

 การเตรียมตัวเพื่อเข้าตรวจ MRI : 

แล้วเดียวผลตรวจเป็นอย่างไรจะมา Update ให้ทราบอีกนะค่ะ