วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ตรวจมวลกระดูก ครั้งที่ 3

      ถึงเวลาเช็คสภาพกระดูก ตั้งแต่เป็นเอสแอลอีมา(เริ่มตรวจเจอปี2554)
เคยตรวจความหนาแน่นของกระดูก มา 3 ครั้ง ดังนี้ (กดดูรายละเอียดได้)


    ล้าสุดก็ 19 พ.ค. 60 (2017) นั้นเอง ตามเดิมคะไปที่ รพ.รามา เข้าเครื่อง รอบนีจะเน้นดูทีข้อต่อสะโพก (เพราะคนทานสเตรอย-เพรดนิโซโลน) มีโอกาสข้อต่อสะโพกเสื่อมคะ
อย่าได้รอช้า เราไปตรวจกันจร้า...ตอนนี้หมอ SLE บอกว่า ควร ตรวจทุกปีแล้ว
...เดินหน้าหาหมอกันจร้า...
วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 25560 (ตรวจมวลกระดูกครั้งที่3)

     มาแผนกนี้ที่ไร จะเจอเพื่อนต่างวัย(มาก) ก็มีแต่คุณป้าทั้งนั้น แล้วเราก็ได้แต่นั้งยิ้มๆ ฟังป้าๆแลกเปลี่ยนเรื่องราวของคนสูงวัยกัน แล้วจะเป็นทุกครั้งที่ทุกคนถามว่า หนูยังเด็กทำไมต้องมาตรวจแต่วัน
...เรื่องราวของหนูอ้อมก็เริ่มขึ้น เล่าสาเหตุที่เราต้องเช็คความหนาแน่นกระดูกเพราะเรามีโรคประจำตัวอะไร เลยต้องมา เล่ากันสนุกสนาน เราเองก็ได้ทราบเรื่องความเสื่อมของร่างกายของคนสูงวัยไปด้วย(จะได้เอาไว้ดูแลแม่) คุยกันเหมือนเพื่อนวัยเดียวกัน ให้กำลังใจกันไป ป้า ป้า บอกว่าหนูดูสดใส สวยไม่เหมือนคนป่วยเลย อิอิ แอบดีใจ แต่ก็แก่แล้วคะป้า ตามๆกันไป
     ป้าบางคนยังกลัวการรักษา หรือกลัวความจริง เราก็ได้แต่บอกว่า รู้ก่อน รักษาก่อนคะ เดียวนี้การแพทย์เค้าพัฒนาแล้ว ทุกคนมีความเสื่อมนะค่ะ แค่จะช้าหรือเร็ว




ตอนสแกนก็นอนและมีการวางขา ให้ถูกต้อง และยกขาบนกล่อง(ไม่ได้ถ่ายรูป) ทำตามเจ้าหน้าทีบอก แวยเดียวเสร็จคะ
อันนี้ผลรอประมาณ5-7 วัน ค่าใช้จ่าย 2,600 บาท (สำหรับนอกเวลา)
แต่หากได้คิวเวลาปกติก็จะราคา 2,000บาทได้จร้า
💕➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖💕
ต่อไปรอผลกันคะ
กลับไปอ่านทบทวนได้(ของปีก่อน)
http://aomy12.blogspot.com/2016/07/sle-season2-no5-jun.html

🌟⭐️⭐️🌟
🌟⭐️ผลแลปมาแล้ว...เดียวมาอ่านผลให้ฟัง⭐️🌟

15-06-2017 แวะไปให้คุณหมอที่สถานพยาบาลอ่านผลให้ก่อน







🌟⭐️มาเริ่มขี้โม้กะหมอกระดูกกัน⭐️🌟
รูปประกอบตามด้านล่าง ใหญ่ๆเลยรอบนี้

Aom : สวัสดีค่ะคุณหมอ หนูเอาผลสแกนมวลกระดูกมาให้อ่านคะ
Dr. : อ้าว อายุเท่าไรทำไมต้องไปตรวจแล้ว
Aom : คือ..หนูเป็น SLE คะทานยาเพรดนิโซนโลนตั้งแต่ปี 54 เคยกระเริบใช้ยาโดสสูง(12เม็ด)มาสองรอบแล้ว คือปี 55และ59คะ
หนูสแกนแบบนี้มา 3 รอบแล้วคะ หมอ sle ให้เชคทุกปี เลยเอามาให้หมอดูค่ะ
Dr. :ไหน สงสัยตรงไหน แต่หมอดูแล้วนะ มันปกตินะ
Aom :เราดู ค่า T-Scoreใช่ไหมคะ หากไม่ติดลบก็โอเคใช่ไหมค่ะ(ดูรูปSpine-กระดูกสันหลัง)
Dr. : ใช่อันนี้ดูค่าที่หนึ่ง แต่ค่าของเรา(0.8) ...จริงก็แข็งแรงกว่าคนทั่วๆไปนิดๆด้วย
โดยทั่วไปนะครับ เราจะดูว่า กระดูกเราเป็นอย่างไร กระดูกปกติหรือ 
1.กระดูกบาง
2.กระดูกพรุน
ถ้า-1 ถึง-2.5 ถือว่าเป็นกระดูกบาง>>osteopenia
ถ้ามากกว่า -2.5 เป็นกระดูกพรุน
หรือกรณีพิเศษ เคยมีกระดูกหักมาก่อน(ไม่ใช่หักเพราะอุบัติเหตุนะ)หากมีหักจะต้องดูเกณฑ์ใหม่
หากล้มเบาๆแล้วหักอะไรแบบนี้
Aom : หมอคะแต่อันนี้กระดูกข้อสะโพก(Hip-Neck)  มันติดลบ(-0.4) เห็นหมอSLEจะหวงเรื่องนี้ 
Dr. ยังโอเคอยู่นะ เราอายุ 35 ใช่ไหม อันนี้เค้าเทียบเกณฑ์กับอายุ 20กว่าๆ กระดูกสะโพก(ตรง neck) ก็โอเคนะไม่มีปัญหา
แล้วค่าแฟคสกอร์(Fracture Rishk)  --->เป็นการคำนวณความเสี่ยงหากเราหกล้ม(ส่วนมากเค้าไว้ดูคนแก่นะ)
1.Major Osteoporotic Fracture = 1.0% >> แค่ 1.0% เอง เรียกว่าน้อยมาก หากจะมีปัญหาต้อง ประมาณ 20%
2.Hip Fracture = 0.1% >> โอกาสที่กระดูกข้อสะโพกมีโอกาสหักแค่ 0.1%

โดยรวมสบายใจได้...
Aom : แบบนี้กินสเตรอยต่อได้ 
Dr.: แต่นิดนึงเราต้องคอยสังเกตุอาการที่สะโพก ปวดสะโพก เรามีโอกาสที่จะกระดูกสะโพกขาดเลือดได้
Aom : มันเกิดจาก สเตรอยอย่างเดียวเลยหรอค่ะหมอ
Dr. : อาจจะพวกดำน้ำ เพราะไนโตรเจนทำให้กระดูกพรุนได้
Aom : งั้นหนูก็ทานแคลเซียมตามเดิมได้ใช่ไหมคะ  หนูเคยเจอคุณหมอกระดูกบอกว่า เรื่องออกกำลังกาย ช่วยได้ให้ออกกำลังกายแนวดิ่ง จะช่วยสร้างมวลกระดูกได้ แต่มันต้องก่อน อายุ 30??
Dr. : ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก ที่ต้านกับโลก ที่ไม่ใช่ว่ายน้ำ
Aom : ยังได้หรอค่ะหมอ งั้นหนูจะได้เดิน กับวิ่งต่อ
Dr. : ดีเลยครับทำต่อ



อันนี้เป็นผล T-Score จะเห็นว่าไม่ติดลบ

ค่าT-Score ค่อยเพิ่มขึ้น เข้าใกล้บวก
เป็นเพราะออกกำลังกาย เย้ เย้

แม้จะติดลบ(-0.8) ก็ยังโอเค เพราะกระดูกบางต้องช่วง -1ถึง-2.5

เห็นไหม แนวโน้มดีขึ้น ติดลบน้อยลง
ออกกำลังกายกันต่อ

.... ยิ้มแก้มปลิ กะผลกระดูก ทีคุณหมอกระดูกอ่านให้เบื้องต้น...
เดียวเดือนหน้า( 2 ก.ค. 2560) ได้ไปพบหมอ SLE เอาผลกระดูกไปอวด ไม่รู้หมอ SLE จะว่าอย่างไรบ้าง
ตอนนี้ก็ตั้งใจไว้ว่าจะ ออกกำลังกาย เดิน วิ่ง เต้น (แนวดิ่ง) ไปเรื่อยๆ และทานอาหารที่ดี มีแคลเซียมสูง และ ทานยาบำรุง(แคลเวียม)ต่อไป ^___^



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น